Thursday, July 16, 2015

Ada Lovelace – เห็นหน้า Google วันนี้อาจจะสงสัยว่าบุคคลท่านนี้คือใคร จึงได้รับการยกย่องไว้หน้าแรกของ Google จริงๆ แล้วชื่อเต็มๆ ของท่านคือ เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) ได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และวันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิด 146 ปีของท่านครับ มานาคอมพิวเตอร์ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Ada Lovelace มาให้ทราบครับ

ประวัติของ Ada Lovelace

เอ ดา ไบรอน เลิฟเลซ (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 ซึ่งเหตุการณ์ที่น่าเศร้าก็คือ หลังจากเธอเกิดได้ไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่เป็นผู้เลี้ยงดูเอดา จึงตัดสินใจที่จะเลี้ยงเธอให้เป็นผู้หญิงยุคใหม่ จึงให้เอดาเรียนหนังสือโดนเน้นทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป
เมื่อเธอออายุ 17 ปี ได้รู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ โดยนับได้ว่าเป็นผู้หญิงเก่งแห่งยุค เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนวันหนึ่งได้รู้จักกับ ชาลส์ แบบบิจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ซึ่งในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจกล่าวว่า “what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight” (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) แต่ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบบิจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ
ด้านชีวิตครอบครัวนั้น Ada Lovelace ได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกันสามคน

หลังจากที่รู้จักกันเป็นสิบปี เอดาและแบบบิจ ยังได้มีการเขียนจดหมายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเครื่อง วิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ (ซึ่งในปัจจุบัน จดหมายเหล่านี้ยังถูกเก็บไว้อย่างดี เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย ซึ่งเป็นทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ)

ผลงานอันโดดเด่นของ Ada Lovelace

Ada Lovelace บอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้
โดย ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบบิจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา ซึ่งต่อมา แผนการทำงานที่แบบบิจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เอดาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก ซึ่งในแผนการทำงานนั้นเอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี
หลังจากเธอเสียชีวิตอีกนับ ร้อยปี ในปี พ.ศ. 2522 กระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Ada Lovelace ภาษา “ADA”

นักโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

         พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ  Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analitycal Engine  จากภาษาฝรั่งเศษเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้   Lady Ada เข้าใจถึงในหลักการทำงาน ของเครื่อง Analitycal Engine  และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งในเครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโแรแกรมคอมพิวเตอร์แรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า  Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่าแก่ อยู่หนึ่งภาาา คือ ภาษา  Ada  มาจากชื่อของ (Lady Ada ) นอกจากนี้  Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Desimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักพีชคณิต



           

0 comments:

Post a Comment

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!