Friday, July 17, 2015

ยุคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
          
          นับ ตั้งแต่ได้มีการประดิษฐ์เครื่อวคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน และใช้กันอย่างแพร่ หลายจนถึงปัจจุบัน เราสามารถแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้วิวัฒนาการของ เครื่องเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคซึ่งสามารถแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ยุค มีดังนี้
ยุคที่ 1
ยุคที่ 2
ยุคที่ 3
ยุคที่ 4
ยุคที่ 5


ยุคที่ 1 (The First Generation) ปี ค.ศ.1951-1958
          คอมพิวเตอร์ในยุคแรกนี้ ใช้สุูญญากาศในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ต้องการกำลังไฟฟ้าเลี้ยงวงจรที่มี
ปริมาณมากและทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นมาก จึงต้องติดตั้งเครื่องในห้องปรับอากาศ ความเร็วในการทำงานเป็นวินาที เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ บัตรเจาะรู
          ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงาน คือ ภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาที่ใช้รหัสเลขฐานสองทำให้เข้าใจยาก
          สรุป
          อุปกรณ์ : ใช้หลอดไฟสุญญากาศและวงจรไฟฟ้า
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นวินาที (Second)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ยุคที่ 2 (The Second Generation) ปี ค.ศ.1959-1964
          เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง ราคาถูกลง เพราะมีการประดิษฐ์ทราานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้แทนหลอดสุญญากาศ
ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นความเร็วในการทำงานเท่ากับ 1/103 วินาที (มิลลิเซคคั่น) และได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากกว่าใช้หลอดสุญญากาศทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กกว่า หลอดสุญญากาศ 200 เท่า และได้มีีการสร้างวงแหวน
แม่เหล็ก (Magnetic Core) มาใช้แทนดรัมแม่เหล็ก (Magnetic Drum) เป็นหน่วยความจำภายใน ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่ง
          ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมในยุคที่ 2 นี้ คือ ภาษาแอสแซมบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์แทนคำสั่งต่าง ๆ ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง
          สรุป
          อุปกรณ์ : ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) แทนหลอดไฟสุญญากาศ
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นมิลลิวินาที (Millisecond)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาแอสแซมบลี (Assembly),ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)

ยุคที่ 3 (The Third Generation) ปี ค.ศ.1965-1970
          เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนามาใช้ในยุคนี้เป็นวงจรรวม หรือเรียกว่า "ไอซี" (IC : Tntegrated Ciruit) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูฏบรรจุลงในแผ่นซิลิกอน (Silicon) บาง ๆ ที่เรียกว่า ชิป (Chip) ในชิปแต่ละตัวจะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันตัว จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมแต่ความเร็วในการทำงานสูงขึ้น ความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้น1/106 วินาที (ไมโครเซคคั่้น) กินไฟน้อยลง ความร้อนลดลงและประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
          สรุป
          อุปกรณ์ : ใช้วงจรแบบไอซี (IC) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่น ซิลิกอน (Silicon)
ที่เรียกว่า (Chip)          
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นไมโคริวินาที (Microsecond)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : COBOL , PL/1 , RPG , BASIC


ยุคที่ 4 (The fourth Generation) ปี ค.ศ. 1971-ปัจจุบัน
          ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาเอาวงจรรวมหลาย ๆ วงจรมารวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ เรียกว่า LSI (Large Scale Integrated) ลงในชิปแต่ละอัน บริษัทอินเทล (Intel) ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งเป็นชิป 1 อัน ที่ประกอบด้วยวงจรทั้งหมดที่ต้องใช้ในการประมวลผลโปรแกรม ไมโครโปรเซสเซอร์ชิปที่ใช้ในเครื่องพีซี (PC : Personal Computer) มีขนาดกระทัดรัดประกอบด้วยส่วนประกอบของซีพียู (CPU) 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic/Logic Unit)
          ปัจจุบันได้มีการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายหมื่นวงจรรวมอยู่ใน ชิปเดียว เป็นวงจร LSI (Large Scale Integrated) และ VLSI (Very Large Scale Integrated) ในยุคนี้ได้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับความนิยมมากเพราะมีขนาดเล็ก กระทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำงานเร็วขึ้น ความเร็วในการทำงานเป็น 1/109 วินาที (นาโนเซคคั่น) และ 1/1012 วินาที (พิโคเซคคั่น) นอกจากนี้ วงจร LSI ยังได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นการลดค่าใช้จ่ายพร้อมกับ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
          สรุป
          อุปกรณ์ : ใช้ระบบ LSI (Large Scale Integrated) ซึ่งเป็นวงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์หลายตัว และต่อมาได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็น VLSI ซึ่งก็คือ Microprocessor หรือ CPU
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นนาโนวินาที (Nanosecond) และพิโควินาที (Picosecond)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาปาสคาล (PASCAL) ,ภาษาซี (C)

ยุคที่ 5 (The Fifth Generation) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ขึ้นไป
          ในยุคที่ 4 และยุคที่ 5 ก็จัดเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่ในยุคที่ 5 นี้มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการจัดการ และนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารจึงเกิดสาขา MIS (Management Information System) ขึ้น
          ในปี ค.ศ. 1980 ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดและตัดสินใจได้ เอง โดยสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มี "สติปัญญา" เพื่อใช้ในการตัดสินใจแทนมนุษย์จึงเกิดสาขาใหม่ขึ้นเรียกว่า สาขาปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artficial Intelligence) สาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาที่เน้นถึงความพยายามในการนำเอากระบวนการทางความ คิดของมนุษย์มาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยระบบคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้ มีการตื่นตัวในการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล (Database) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานด้านกราฟิก และมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) เพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น งานการเงิน งานงบประมาณ งานบัญชี งานสต๊อกสินค้า เป็นต้น
          เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูลสามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (Multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่าย ท้องถิ่นที่เรียกว่า LAN : Local Area Network เมื่อเชื่อมหลาย ๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันจะเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
          คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวีดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่า สื่อประสม (Multimedia)

0 comments:

Post a Comment

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!