Friday, July 17, 2015

Batch Processing และ On-line Processing  ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ ทั้งสอง
Batch Processing  หรือ Sequential Processing
        หมายถึงการดำเนินกรรมวิธีแบบเป็นกลุ่ม เป็นชุด บ้างเรียกว่า Serial หรือ Sequential Processing การดำเนินกรรมวิธีแบบ Batch มีลักษณะสำคัญดังนี้
  • ต้องนำข้อมูลมาจัดเป็นกลุ่มให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะนำมาประมวลผล
  • ข้อมูลเหล่านี้ต้องนำมาจัดเรียงลำดับเสียก่อนแล้วจึงจะนำมาประมวลผล การเรียงลำดับนี้มักเป็นการเรียงจากจำนวนน้อยไปหาจำนวนมาก และถือตามลักษณะการเรียงลำดับที่มีอยู่เดิมในแฟ้มข้อมูล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานนั้นให้เก็บลงแฟ้มข้อมูลในลักษณะเรียงลำดับตามหมายเลขประจำตัวของแต่ละคน จากน้อยไปหามาก การเตรียมเลขประจำตัวน้อยไปหาเลขประจำตัวมาเช่นกัน
         การรวบรวมข้อมูลจำนวนมากๆ แล้วนำมาดำเนินกรรมวิธีทีเดียวมักทำกันที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยทำเป็นระยะๆ จะถี่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล ข้อมูลบางอย่างมีปริมาณมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ที่มีการแบ่งเป็นแผนกต่างๆ  ได้แก่ แผนกเสื้อผ้า แผนกกีฬา แผนกซุปเปอร์มาเก็ต  จึงต้องทำการเก็บข้อมูล ตรวจสอบรายรับ รายจ่ายในแต่ละวัน ทำให้ทราบว่ามีสินค้าเหลืออยู่ในคลังเก็บสินค้าเท่ใด เพื่อการสั่งเข้ามาเพิ่มให้เพียงพอ เป็นต้น
แสดงการดำเนินกรรมวิธีแบบ Batch Processing

On line Processing  หรือ Real – time Processing
 มีความหมายได้หลายอย่าง คือ
- เป็นเรื่องของอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ online ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ เช่น Disk, Tape หรือแม้แต่ Printer จะอยู่ภายใต้การควบคุมของซีพียู (หน่วยประมวลผลกลาง) โดยตรง อุปกรณ์รับและส่งข้อมูลทั้งหมดก็สามารถติดต่อกับซีพียูได้โดยตรงเช่นกันโดยไม่ต้องมีใครช่วย
- ความหมายที่ 2 คือคนที่อยู่ในระบบ On line  เช่นเดียวกับอุปกรณ์ในความหมายแรก คนเหล่านี้สามารถติดต่อกับซีพียูได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้สื่อใดๆ ช่วย
- ความหมายที่ 3 คือการดำเนินกรรมวิธี  เช่น การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ หรือการที่โปรแกรมเรียกใช้ข้อมูลนั้นโดยตรงไม่ต้องอาศัยใครช่วย  ตัวอย่างเช่น การใช้ On line  ในงานของธนาคาร เนื่องจากธนาคารต่างๆ มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ มีศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคาร แฟ้มข้อมูลต่างๆ จะอยู่ที่ศูนย์นี้ทั้งหมด ในขณะที่สาขาต่างๆ มีการเบิกจ่ายเงินในบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ถ้าสาขาเหล่านี้ต้องรวบรวมรายการเบิกจ่ายเงินแต่ละวัน และส่งเจ้าหน้าที่นำข้อมูลมาดำเนินการที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ทุกๆ วัน เป็นจำนวนมาก หากข้อมูลไม่ถูกต้อง ต้องนำกลับไปตรวจสอบแก้ไขที่สาขาฝใหม่ เป็นการสูญเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลามาก  ดังนั้น กิจการธนาคารจึงหันมาใช้ระบบ On line  ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานในระบบ On line  นั้น เริ่มตั้งแต่การติดตั้งจอภาพตามสาขาต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อกับศูนย์คอมพิวเตอร์ด้วยข่ายสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นสายโทรศัพท์หรือสายเคเบิลชนิดใดก็ได้ การติดต่อส่งข้อมูลต่างๆเป็นการติดต่อโดยตรงที่ที่แฟ้มข้อมูลที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาศัยโปรแกรมปฏิบัติการ หรือ Operating System เป็นผู้ช่วยในการติดต่อ ถ้ามีส่วนใดส่วนหนึ่งต้องแก้ไขเกิดขึ้นก็สามารถทำโปรแกรมตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะเข้าไปค้นหาในแฟ้มข้อมูลเพื่อแก้ไขต่อไปได้
อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่ต้องการใช้ระบบ On line  ควรคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆ อย่างที่ระบบ On line  พึงต้องมี ซึ่งมีลักษณะพิเศษกว่าระบบอื่นๆ เช่น ต้องใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะเฉพาะต้องมีซีพียูขนาดใหญ่พอที่จะจัดการกับโปรแกรมควบคุมปฏิบัติการ (Operating System) และพอที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ ณ สถานีปลายทางต่างๆ ได้อย่ามีประสิทธิภาพ และประการสุดท้ายต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมเพราะ ใครๆ ก็สามารถล้างข้อมูลได้ บางคนอาจนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือทำการทุจริตคิดมิชอบได้
 แสดงการดำเนินกรรมวิธีแบบ Online

ความแตกต่างระหว่าง Batch processing กับ Online processing
Batch processing
Online processing
1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายและประหยัดการ
    ใช้ทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์
2. ต้องจัดเรียงกลุ่มข้อมูลในขั้นต้นก่อนการประมวลผล
3. เหมาะกับงานพื้นฐานขององค์กร ห้างร้านต่างๆ
    ที่มีข้อมูลเข้าปริมาณมาก
1. ค่าใช้จ่ายสูง และใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะเฉพาะ
2. ต้องมีระบบการจัดการ กับโปรแกรมควบคุมการปฏิบัติงาน Operating System
3. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมในการเก็บรักษาข้อมูล
4. เหมาะกับหน่วยงานที่มีหน่วยงานย่อยหลายสาขาและอยู่ห่างไกลกัน
5. มีการประมวลทันที ไม่จำเป็นต้องจัดเรียงกลุ่มข้อมูลก่อน

เอกสารประกอบการสอนวิชา การประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจโดยคอมฯ หน้า 81 – 82.
วารสาร Computer Today/พฤษภาคม 2535 หน้า 72-74

0 comments:

Post a Comment

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!