การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงาน เพื่อแก้ปัญหา
หรือสนองความต้องการของเรานั้น ผู้เขียนต้องรู้ว่าจะให้โปรแกรมทำงานอะไร
มีข้อมูลอะไรที่ต้องป้อนให้กับโปรแกรม(Input) และต้องการได้อะไรเป็นผลลัพธ์
(Output) มีการแสดงผลอย่างไร
ผู้เขียนโปรแกรมต้องทราบขั้นตอนวิธีการของการแก้ปัญหาของโปรแกรมด้วยว่าต้อง
ทำอย่างไร อาจเขียนเป็นลำดับขั้นตอนมาก่อนและจดบันทึกไว้
จากนั้นจึงนำลำดับขั้นตอนนั้นมาพัฒนาเป็นโปรแกรม
หากไม่ได้มีการวางแผนการเขียนโปรแกรมไว้ก่อน เมื่อต้องการแก้ไข
หรือปรับปรุงโปรแกรมในภายหลังจะทำได้ยาก เสียเวลามากในการมาศึกษาทุกขั้นตอน
โดยเฉพาะโปรแกรมที่มีความซับซ้อนมาก
โดยทั่วไปขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมจะประกอบด้วย
เป็นขั้นตอนที่จะต้องกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ได้ มีขั้นตอนการดำเนินการย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
1.1) กำหนดขอบเขตของปัญหา โดยกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ตัวแปร ค่าคงที่ต้องเป็นไปในลักษณะใด
1.2) กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ (Input/Output specification) โดยต้องรู้ว่าข้อมูลที่ส่งไปเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อทำให้โปรแกรมประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เช่น การรับค่าจากคีย์บอร์ด การใช้เมาส์ การกำหนดปุ่มต่าง ๆ ลักษณะการแสดงผลหน้าจอว่าจะให้มีรูปร่างอย่างไร โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก เช่น ข้อมูลประเภท ตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ใช้ทศนิยมกี่ตำแหน่ง
1.3) กำหนดวิธีการประมวลผล (process specification) ต้องรู้ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลอย่างไร จึงจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
2. เขียนผังงานและซูโดโค้ด (pseudo coding) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำเครื่องมือมาช่วยในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งยังไม่ใช่การเขียนโปรแกรมจริง ๆ แต่ช่วยในการเขียนโปรแกรม ทำให้ผู้อื่นนำโปรแกรมของเราไปพัฒนาต่อได้ง่ายขึ้น โดยเขียนเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่าอัลกอริทึม (algorithm) ซึ่งจะแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา ใช้ประโยคที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ และมีรายละเอียดการทำงานที่เพียงพอที่จะนำมาเขียนโปรแกรมให้ทำงานจริง อาจเขียนในรูปของรหัสจำลอง หรือซูโดโค้ด (pseudo code) หรืออีกลักษณะหนึ่งคือเขียนในรูปของผังงาน (Flowchart) ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่ ซูโดโค้ดเขียนคำอธิบายการทำงานของโปรแกรมเป็นแบบย่อ ไม่มีรูปแบบเฉพาะตัว แต่ละส่วนจะเป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรม ซึ่งนำไปใช้กับทุก ๆ โปรแกรมได้ง่ายขึ้น ส่วนผังงานเป็นสัญลักษณ์แทนการทำงานและทิศทางของโปรแกรม
3. เขียนโปรแกรม (programming) เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนคำอธิบายโปรแกรม หรือผังงานให้อยู่ในรูปของรหัสภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมต้องทำความเข้าใจกับไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และความถนัดของผู้เขียนโปรแกรมด้วย
4. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (program testing and debugging) เพื่อให้การนำโปรแกรมไปใช้มีความถูกต้อง แก้ปัญหาได้ตรงจุด ผู้เขียนโปรแกรมจึงต้องทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อหาจุดผิดพลาด อาจจะให้บุคคลอื่นลองใช้โปรแกรมด้วย และแก้ไข ทดสอบจนไม่พบจุดผิดพลาดอีก จุดผิดพลาดของโปรแกรมเรียกว่า Bug และการแก้ไขโปรแกรมเรียกว่า Debug ซึ่งข้อผิดพลาดของโปรแกรมมี 2 ประเภท ดังนี้
4.1) การเขียนคำสั่งไม่ถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมภาษาที่เลือก ซึ่งเรียกว่า Syntax Error หรือ Coding error ข้อผิดพลาดแบบนี้มักพบตอนแปลภาษาโปรแกรม เป็นรหัสภาษาเครื่อง
4.2) ข้อผิดพลาดทางตรรกะ หรือ Logic error เป็นข้อผิดพลาดที่โปรแกรมทำงานได้ แต่ผลลัพธ์ออกมาไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการแก้ปัญหา หรือหาคำตอบที่ออกแบบขึ้น เช่น ต้องการผลลัพธ์อย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่คำนวณหรือประมวลผลได้เป็นอีกแบบหนึ่ง
5. ทำเอกสารและบำรุงรักษา (program documentation and maintenance) เป็นการให้ผู้ใช้งานโปรแกรมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกในการตรวจสอบข้อผิดพลาดโดยเขียนเป็นเอกสารประกอบโปรแกรมขึ้นมา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
5.1) คู่มือการใช้ (User Document) หรือ user guide ซึ่งจะอธิบายการใช้โปรแกรม
5.2) คู่มือโปรแกรมเมอร์ หรือ Program document หรือ Technical reference ซึง จะอำนวยความสะดวกในการแก้ไขโปรแกรมและพัฒนาโปรแกรมในอนาคต โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม เช่น ชื่อโปรแกรม การรับข้อมูล การพิมพ์ผลลัพธ์ ขั้นตอนต่าง ๆในโปรแกรม เป็นต้น
ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Maintenance) เป็นการที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องคอยตรวจสอบการใช้โปรแกรมจริง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายหลัง รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอเมื่อเวลาผ่านไป
- การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา (problem definition and problem analysis)
- เขียนผังงานและซูโดโค้ด (pseudo coding)
- เขียนโปรแกรม (programming)
- ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (program testing and debugging)
- ทำเอกสารและบำรุงรักษา (program documentation and maintenance)
เป็นขั้นตอนที่จะต้องกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ได้ มีขั้นตอนการดำเนินการย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
1.1) กำหนดขอบเขตของปัญหา โดยกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ตัวแปร ค่าคงที่ต้องเป็นไปในลักษณะใด
1.2) กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ (Input/Output specification) โดยต้องรู้ว่าข้อมูลที่ส่งไปเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อทำให้โปรแกรมประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เช่น การรับค่าจากคีย์บอร์ด การใช้เมาส์ การกำหนดปุ่มต่าง ๆ ลักษณะการแสดงผลหน้าจอว่าจะให้มีรูปร่างอย่างไร โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก เช่น ข้อมูลประเภท ตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ใช้ทศนิยมกี่ตำแหน่ง
1.3) กำหนดวิธีการประมวลผล (process specification) ต้องรู้ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลอย่างไร จึงจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
2. เขียนผังงานและซูโดโค้ด (pseudo coding) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำเครื่องมือมาช่วยในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งยังไม่ใช่การเขียนโปรแกรมจริง ๆ แต่ช่วยในการเขียนโปรแกรม ทำให้ผู้อื่นนำโปรแกรมของเราไปพัฒนาต่อได้ง่ายขึ้น โดยเขียนเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่าอัลกอริทึม (algorithm) ซึ่งจะแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา ใช้ประโยคที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ และมีรายละเอียดการทำงานที่เพียงพอที่จะนำมาเขียนโปรแกรมให้ทำงานจริง อาจเขียนในรูปของรหัสจำลอง หรือซูโดโค้ด (pseudo code) หรืออีกลักษณะหนึ่งคือเขียนในรูปของผังงาน (Flowchart) ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่ ซูโดโค้ดเขียนคำอธิบายการทำงานของโปรแกรมเป็นแบบย่อ ไม่มีรูปแบบเฉพาะตัว แต่ละส่วนจะเป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรม ซึ่งนำไปใช้กับทุก ๆ โปรแกรมได้ง่ายขึ้น ส่วนผังงานเป็นสัญลักษณ์แทนการทำงานและทิศทางของโปรแกรม
|
3. เขียนโปรแกรม (programming) เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนคำอธิบายโปรแกรม หรือผังงานให้อยู่ในรูปของรหัสภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมต้องทำความเข้าใจกับไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และความถนัดของผู้เขียนโปรแกรมด้วย
4. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (program testing and debugging) เพื่อให้การนำโปรแกรมไปใช้มีความถูกต้อง แก้ปัญหาได้ตรงจุด ผู้เขียนโปรแกรมจึงต้องทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อหาจุดผิดพลาด อาจจะให้บุคคลอื่นลองใช้โปรแกรมด้วย และแก้ไข ทดสอบจนไม่พบจุดผิดพลาดอีก จุดผิดพลาดของโปรแกรมเรียกว่า Bug และการแก้ไขโปรแกรมเรียกว่า Debug ซึ่งข้อผิดพลาดของโปรแกรมมี 2 ประเภท ดังนี้
4.1) การเขียนคำสั่งไม่ถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมภาษาที่เลือก ซึ่งเรียกว่า Syntax Error หรือ Coding error ข้อผิดพลาดแบบนี้มักพบตอนแปลภาษาโปรแกรม เป็นรหัสภาษาเครื่อง
4.2) ข้อผิดพลาดทางตรรกะ หรือ Logic error เป็นข้อผิดพลาดที่โปรแกรมทำงานได้ แต่ผลลัพธ์ออกมาไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการแก้ปัญหา หรือหาคำตอบที่ออกแบบขึ้น เช่น ต้องการผลลัพธ์อย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่คำนวณหรือประมวลผลได้เป็นอีกแบบหนึ่ง
5. ทำเอกสารและบำรุงรักษา (program documentation and maintenance) เป็นการให้ผู้ใช้งานโปรแกรมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกในการตรวจสอบข้อผิดพลาดโดยเขียนเป็นเอกสารประกอบโปรแกรมขึ้นมา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
5.1) คู่มือการใช้ (User Document) หรือ user guide ซึ่งจะอธิบายการใช้โปรแกรม
5.2) คู่มือโปรแกรมเมอร์ หรือ Program document หรือ Technical reference ซึง จะอำนวยความสะดวกในการแก้ไขโปรแกรมและพัฒนาโปรแกรมในอนาคต โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม เช่น ชื่อโปรแกรม การรับข้อมูล การพิมพ์ผลลัพธ์ ขั้นตอนต่าง ๆในโปรแกรม เป็นต้น
ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Maintenance) เป็นการที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องคอยตรวจสอบการใช้โปรแกรมจริง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายหลัง รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอเมื่อเวลาผ่านไป
0 comments:
Post a Comment