เป็นระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ใช้ในการแก้ปัญหา
เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ
ผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน
เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ
ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ได้ทุกเรื่อง
ระบบผู้เชี่ยว ชาญ [Expert Systems (ES)] หมาย ถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง (ทักษิณา สวนานนท์.2539:99) หรือหมายถึงระบบโปรแกรมใช้งาน (Software systems) ซึ่ง มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันใน เรื่องของกระบวนการในการใช้เหตุผล (Reasoning process) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำ แกผู้ที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งพบในผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ เช่น ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจมีความรู้สึกอย่างไร ระหว่างความเสี่ยงกับอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในโครงการต่าง ๆ และถ้าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนอย่างไร เป็นต้น และหลังจากที่ได้รับคำตอบจากลูกค้าแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญก็จะถามต่อไปจนกว่าจะมีการแนะนำแฟ้มเอกสาร หลังจากนั้นระบบก็จะดึงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ มาใช้ (User) เช่น รายละเอียดตัวหุ้น ประวัติต่าง ๆ รายงานการวิจัย และการพยากรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
6
ระบบ ปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence (AI)] หมายถึง อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยการรับคำสั่ง เพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือหมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ (ทักษิณา สวนานนท์.2539:13) ซึ่งการำงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสมองมนุษย์ ฉะนั้นความสามารถของคอมพิวเตอร์ทางด้านสติปัญญา และด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์
สิ่งที่สำคัญทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) มี 2 ประการ คือ
(1) ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ
(2) ความสามารถที่จะให้เหตุผล ดังนั้น ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงหมายถึง ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการทำงานคล้ายคลึงกับสติปัญญาของ มนุษย์ จึงถูกเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence (AI)]
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หรือโอเอเอส [Office Automation System – OAS] โดยสามารถจำแนกระบบสำนักงานอัตโนมัติออกตามหน้าที่เป็น
1) การสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ (e-mail) ไปรษณีย์เสียงหรือเมล์เสียง (voice mail) การประชุมทางไกล (teleconferencing) โทรสาร (fax) เป็นต้น
2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักงาน เช่นการประมวลคำ (word processing) การประมวลภาพลักษณ์ (image processing) การพิมพ์ตั้งโต๊ะ ซึ่งเป็นการผลิตเอกสารที่มีคุณภาพดีการออกแบบกราฟิกและรูปแบบประเภทต่างๆ (desktop publishing) การแปลงภาพและเอกสารในรูปดิจิทัล (digitization)
3) เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน ปฏิบัติงานร่วมกัน เช่น กรุ๊ปแวร์ (groupware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สนับสนุนการทำงานร่วมกัน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การสื่อสาร การร่วมมือ (collaboration) และการประสานงาน (coordination) ระบบอินทราเน็ต เป็นทางเลือกที่สำคัญของการใช้ กรุปแวร์
ระบบงานสร้างความรู้ [Knowledge Work Systems – KWS] เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการ คิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดย สะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ
เป้าหมายของระบบสารสนเทศ
- เพิ่มประสิทธฺภาพ ทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง - เพิ่มผลผลิต ควบคุมขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบ ฯลฯ
- เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การสำรองที่นั่ง ตรวจสอบเวลา
- ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลิตภัณฑ์ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของผู้บริโภค รูปแบบสินค้าที่ลูกค้าต้องการ
- สามารถสร้างทางเลือกในการแข่งขัน เช่นสร้างแบบจำลองที่แตกต่างจากเดิม
- การสร้างโอกาสทางธุรกิจ
- การดึงดูดลูกค้าไว้และป้องกันคู่แข่งขัน การใช้สารสนเทศเพื่อสร้างความประทับให้แก่ลูกค้า
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
- เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อความต้องการใช้ประโยชน์
- นำข้อมูลช่วยในการวางแผนปฏิบัติการและการจัดการ
- ใช้ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
- สามารถตรวจสอบผลการดำเนินงาน ว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่
- วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีการควบคุม
- ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงานลง
ระบบผู้เชี่ยว ชาญ [Expert Systems (ES)] หมาย ถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง (ทักษิณา สวนานนท์.2539:99) หรือหมายถึงระบบโปรแกรมใช้งาน (Software systems) ซึ่ง มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันใน เรื่องของกระบวนการในการใช้เหตุผล (Reasoning process) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำ แกผู้ที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งพบในผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ เช่น ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจมีความรู้สึกอย่างไร ระหว่างความเสี่ยงกับอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในโครงการต่าง ๆ และถ้าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนอย่างไร เป็นต้น และหลังจากที่ได้รับคำตอบจากลูกค้าแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญก็จะถามต่อไปจนกว่าจะมีการแนะนำแฟ้มเอกสาร หลังจากนั้นระบบก็จะดึงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ มาใช้ (User) เช่น รายละเอียดตัวหุ้น ประวัติต่าง ๆ รายงานการวิจัย และการพยากรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
6
ระบบ ปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence (AI)] หมายถึง อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยการรับคำสั่ง เพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือหมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ (ทักษิณา สวนานนท์.2539:13) ซึ่งการำงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสมองมนุษย์ ฉะนั้นความสามารถของคอมพิวเตอร์ทางด้านสติปัญญา และด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์
สิ่งที่สำคัญทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) มี 2 ประการ คือ
(1) ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ
(2) ความสามารถที่จะให้เหตุผล ดังนั้น ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงหมายถึง ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการทำงานคล้ายคลึงกับสติปัญญาของ มนุษย์ จึงถูกเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence (AI)]
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หรือโอเอเอส [Office Automation System – OAS] โดยสามารถจำแนกระบบสำนักงานอัตโนมัติออกตามหน้าที่เป็น
1) การสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ (e-mail) ไปรษณีย์เสียงหรือเมล์เสียง (voice mail) การประชุมทางไกล (teleconferencing) โทรสาร (fax) เป็นต้น
2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักงาน เช่นการประมวลคำ (word processing) การประมวลภาพลักษณ์ (image processing) การพิมพ์ตั้งโต๊ะ ซึ่งเป็นการผลิตเอกสารที่มีคุณภาพดีการออกแบบกราฟิกและรูปแบบประเภทต่างๆ (desktop publishing) การแปลงภาพและเอกสารในรูปดิจิทัล (digitization)
3) เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน ปฏิบัติงานร่วมกัน เช่น กรุ๊ปแวร์ (groupware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สนับสนุนการทำงานร่วมกัน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การสื่อสาร การร่วมมือ (collaboration) และการประสานงาน (coordination) ระบบอินทราเน็ต เป็นทางเลือกที่สำคัญของการใช้ กรุปแวร์
ระบบงานสร้างความรู้ [Knowledge Work Systems – KWS] เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการ คิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดย สะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ
เป้าหมายของระบบสารสนเทศ
- เพิ่มประสิทธฺภาพ ทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง - เพิ่มผลผลิต ควบคุมขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบ ฯลฯ
- เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การสำรองที่นั่ง ตรวจสอบเวลา
- ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลิตภัณฑ์ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของผู้บริโภค รูปแบบสินค้าที่ลูกค้าต้องการ
- สามารถสร้างทางเลือกในการแข่งขัน เช่นสร้างแบบจำลองที่แตกต่างจากเดิม
- การสร้างโอกาสทางธุรกิจ
- การดึงดูดลูกค้าไว้และป้องกันคู่แข่งขัน การใช้สารสนเทศเพื่อสร้างความประทับให้แก่ลูกค้า
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
- เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อความต้องการใช้ประโยชน์
- นำข้อมูลช่วยในการวางแผนปฏิบัติการและการจัดการ
- ใช้ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
- สามารถตรวจสอบผลการดำเนินงาน ว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่
- วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีการควบคุม
- ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงานลง
0 comments:
Post a Comment