คำสั่งควบคุม ( Control Statement)
การ
เขียนโปรแกรมสั่งงานจะมีบางขั้นตอนที่จะต้องมีทางเลือกหรือทำซ้ำให้กับ
โปรแกรม เพื่อกำหนดวิธีการประมวลผลโดยอาศัยตัวแปรและค่าของตัวแปร
โดยการระบุเงื่อนไขเพื่อกำหนดให้เป็นทางเลือกหรือการทำซ้ำ
ถ้าค่าตัวแปรตรงกับค่าที่กำหนดในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้โปรแกรมปฏิบัติการ
ตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคำสั่งควบคุมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
คำสั่งเพื่อการวนรอบ และคำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข
โดยในบทนี้จะกล่าวถึงคำสั่งเพื่อการวนรอบ
คำ
สั่งควบคุม ( Control Statement)
ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขหรือรูปแบบที่ผู้พัฒนาโปรแกรม
ต้องการ ซึ่งคำสั่งควบคุมแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1.คำสั่งเพื่อการวนรอบ ( Loop Statement)
2.คำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข (Conditional Statement)
การ
เขียนโปรแกรมสั่งงานจะมีบางขั้นตอนที่จะต้องมีทางเลือกหรือทำซ้ำให้กับ
โปรแกรมเพื่อกำหนดวิธีการประมวลผลโดยอาศัยตัวแปรและค่าของตัวแปร
โดยการระบุเงื่อนไขเพื่อกำหนดให้เป็นทางเลือกหรือการทำซ้ำ
ถ้าค่าตัวแปรตรงกับค่าที่กำหนดในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้โปรแกรมปฏิบัติการ
ตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงคำสั่งเพื่อการวนรอบ
ส่วนคำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข
คำสั่งเพื่อการวนรอบ ( Loop Statement)
คำ
สั่งเพื่อการวนรอบหรือเพื่อการทำซ้ำ
เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลเหตุการณ์ที่ต้องการทำซ้ำ ๆ
มากกว่าหนึ่งครั้งโดยการตรวจสอบเงื่อนไข ซึ่งประกอบด้วย
• ฟังก์ชัน for• ฟังก์ชัน While• ฟังก์ชัน Do…while• ฟังก์ชัน break• ฟังก์ชัน continueคำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข ( Conditional Statement)รูป แบบการตัดสินใจในการทำงานหรือทางเลือกที่จะต้องมีการตัดสินใจเลือกทำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เปรียบได้กับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น คุณจะอาบน้ำหรือทานข้าวก่อนไปทำงาน คุณจะขับรถหรือนั่งรถโดยสารไปเรียนหนังสือ เป็นต้น โดยทางเลือกในการทำงานจะมีอยู่ 2 เงื่อนไข คือ ทางเลือกที่เป็นจริง และทางเลือกที่เป็นเท็จ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็ต้องมีทางเลือกเพื่อประมวลผลหรือกระทำการใด ๆ เพื่อจะให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการคำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข
- ฟังก์ชัน if (เงื่อนไขทางเลือกเดียว)
- ฟังก์ชัน if…else (เงื่อนไขสองทางเลือก)
- ฟังก์ชัน if-else-if (เงื่อนไขหลายทางเลือก)
- ฟังก์ชัน switch (ทางเลือกหลายทาง)
การเขียนโปรแกรมกำหนดเงื่อนไข (Conditional
statements)
คือการดำเนินการเงื่อนไขที่แตกต่างกันเพื่อทำงานบางอย่างที่เรากำหนดไว้
ซึ่งบ่อยครั้งที่เราเขียนโค๊ด จะต้องมีการทำงานคำสั่งแบบทางเลือก ซึ่งใช้
logic ในการคิดซึ่งผลลัพธ์ของเงื่อนไขจะออกมาเป็น ถูก (True) หรือ ผิด
(False)
- if statement - ใช้สำหรับทำคำสั่งเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง
- if...else statement - ใช้สำหรับทำคำสั่งใน if เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และ else เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
- if...elseif...else statement - ใช้สำหรับเลือกเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นจริง elseif และถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะทำคำสั่งใน else
- switch statement - เป็นคำสั่งที่กำหนดเงื่อนไขด้วยตัว แปร 1 ตัวแปร ซึ่งถ้าตัวแปรไปตรงเงื่อนไขจะทำงานตามที่ต้องการ และหยุดการทำงาน หรือจะทำเงื่อนไขอื่นต่อได้อีก
IF Statement
ใช้สำหรับทำคำสั่งตามเงื่อนไขที่เป็นจริง
รูปแบบ
1
| if (condition) code to be executed if condition is true ; |
ตัวอย่าง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
| <html> <body> <?php $d=date( "D" ); if ($d== "Fri" ) echo "Have a nice weekend!" ; ?> </body> </html> |
จากตัวอย่าง:จะได้ผลลัพธ์ "Have a nice weekend!" ถ้าเงื่อนไขตัวแปรเป็น Fri
* คำเตือน: คำสั่งนี้จะไม่มี else อยู่ในคำสั่ง โค๊ดจะถูกประมวลผลเฉพาะใน if เท่านั้นถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
IF...Else Statement
ใช้สำหรับทำคำสั่งใน if เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และ else เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
รูปแบบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
| if (condition) { โค๊ดจะถูกประมวลผลถ้าเงื่อนไขเป็นจริง; } else { โค๊ดจะถูกประมวลผลถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ; } |
ตัวอย่าง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
| <html> <body> <?php $d=date( "D" ); if ($d== "Fri" ) { echo "Have a nice weekend!" ; } else { echo "Have a nice day!" ; } ?> </body> </html> |
จากตัวอย่าง: ถ้าตัวแปร $d มีค่าเท่ากับ Fri จะทำคำสั่ง IF ซึ่งได้ผลลัพธ์ Have a nice weekend แต่ถ้าไม่จะแสดงผล Have a nice day!
IF...Elseif...Else Statement
ใช้สำหรับเลือกเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นจริง elseif และถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะทำคำสั่งใน else
รูปแบบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
| if (ตัวเลือก1) { จะแสดงผลเมื่อ ตัวเลือก1 เป็นจริง; } elseif (ตัวเลือก2) { จะแสดงผลเมื่อตัวเลือก2 เป็นจริง; } else { จะแสดงผลเมื่อ ตัวเลือก1 และ ตัวเลือก2 เป็นเท็จ; } |
ตัวอย่าง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
| <html> <body> <?php $d=date( "D" ); if ($d== "Fri" ) { echo "Have a nice weekend!" ; } elseif ($d== "Sun" ) { echo "Have a nice Sunday!" ; } else { echo "Have a nice day!" ; } ?> </body> </html> |
จากตัวอย่าง: ถ้าตัวแปล $d มีค่าเท่ากับ Fri จะแสดงผลในตัวเลือกที่1 ว่า "Have a nice weekend!" แต่ถ้า $d มีค่าเท่ากับ Sun จะแสดงผลว่า "Have a nice Sunday!" และถ้า $d ไม่เท่ากับ Fri และ Sun ให้แสดงผลลัพธ์ "Have a nice day!"
Switch Statement
เป็นคำสั่งที่กำหนดเงื่อนไขด้วยตัวแปร 1 ตัวแปร ซึ่งถ้าตัวแปรไปตรงเงื่อนไขจะทำงานตามที่ต้องการ และหยุดการทำงาน หรือจะทำเงื่อนไขอื่นต่อได้อีก
รูปแบบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
| switch (n) { case label1: code to be executed if n=label1; break ; case label2: code to be executed if n=label2; break ; default : code to be executed if n is different from both label1 and label2; } |
ตัวอย่าง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
| <html> <body> <?php $x=1; switch ($x) { case 1: echo "Number 1" ; break ; case 2: echo "Number 2" ; break ; case 3: echo "Number 3" ; break ; default : echo "No number between 1 and 3" ; } ?> </body> </html> |
จากตัวอย่าง: กำหนดตัวแปร $x=1; จากนั้นเอาค่า $x ไปหาผลลัพท์ที่ switch โดยที่ case 1 คือ ถ้าตัวแปร $x มีค่าเท่ากับ 1 ให้แสดงผล (echo) "Number 1" และออกจากการหาเงื่อนไข break; แต่ถ้าไม่มีเงื่อนไขใดๆตรงกัน จะมี default: คอยกำหนดค่าแสดงผลให้ "No number between 1 and 3"
สรุป
ในการเขียนโปรแกรมเราจะได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคำสั่งนี้บ่อยมากๆ เพราะเป็นการกำหนดทางเลือกของโปรแกรมและการไหลของโปรแกรม Condition Statement จึงสำคัญและเป็นส่วนโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ควรจะใช้งานให้ได้คล่องแคล่วครับ
I really appreciate your support on this.
ReplyDeleteLook forward to hearing from you soon.
I’m happy to answer your questions, if you have any.
เล่นบาคาร่า
เครดิตฟรี
เล่นบาคาร่า