Sunday, July 19, 2015

     ในยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในเกือบทุกวงการ ได้เริ่มมีการนำข้อมูลต่างๆ ที่จาก เดิมเคย เก็บอยู่ในรูปเอกสาร นำมาจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากความสามารถที่หลากหลายของ คอมพิวเตอร์ ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ประมวลผลได้รวดเร็ว มีความแม่นยำ ในการประมวลผล ซึ่งในช่วงแรกก่อนที่จะเป็นการใช้งานระบบฐานข้อมูลนั้น การจัดเก็บข้อมูลต่างๆ จะอยู่ในลักษณะของแฟ้มข้อมูล ซึ่งการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมาเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูล จะมีโครงสร้างขึ้นอยู่ กับโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ทำให้เกิดข้อจำกัดต่างๆ มากมาย เช่นแฟ้มข้อมูลที่สร้างด้วยภาษาซี จะไม่สามารถนำไปใช้ร่วมกับภาษาปาสคาลได้ เนื่องจากมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน หรือขาดความปลอดภัยในการใช้งานต่างๆ ดังนั้นจึงได้มีการสร้างระบบฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้การจัดเก็บและจัดการกับ ข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.1 ข้อมูลสารสนเทศ

สิ่งแรกที่เราต้องรู้ว่าสารสนเทศ คืออะไรและประกอบด้วยอะไร ความหมายตามตัวศัพท์ของสารสนเทศ ก็คือ Information หรือเรียกว่า "ข้อมูลสารสนเทศ" และมีอีกคำที่มักจะสับสน คือคำว่า Data หรือข้อมูล ที่เราใช้กันอย่างติดปาก คำว่าข้อมูล มักจะหมายถึง สิ่งที่มนุษย์เก็บรวบรวมเพื่อนำไปประมวลผล (Computing Process) ต่อเพื่อที่จะได้สื่อใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ (ในแง่ของผู้บริหารก็เพื่อจะนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง) พูดง่าย ๆ ว่าข้อมูล (Data) เปรียบเหมือนกับน้ำมันดิบที่ยังไม่ผ่านการกลั่นนั้นเอง ผลจากการกลั่นกรอง หรือการประมวลผล ดังกล่าว ก็คือ ข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งแสดงเป็นกระบวนการดังรูปที่ 1.1
รูปที่ 1.1 แสดงกระบวนการได้มาซึ่งสารสนเทศ

Information System คือ ระบบที่ประมวลผลข้อมูลดิบ (Data) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือข้อมูลสารสนเทศ (Information) ซึ่งการประมวลผลอาจจะใช้คน แต่ปัจจุบันนิยมใช้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า Computer Information System (CIS) ตัวอย่างเช่น
พนักงานขายของบริษัทเทปแห่งหนึ่งได้ทำรายงานยอดขายซีดีเพลงให้แก่ผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจในการวางแผนการขาย โดยเป็นข้อมูลดิบดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 รายงานข้อมูลยอดขายซีดีเพลง
รหัสลูกค้าชื่อลูกค้ารหัสอัลบัมชื่ออัลบัมจำนวนวันที่ซื้อ
1100
2200
4600
6700
4300
8700
4500
6800
สมศักดิ์
วิไล
อรัญญา
วิลลี่
ธงชัย
ใหม่
มนต์สิทธิ์
เจ
622
633
855
855
996
750
553
996
เพลงร็อค
เพลงร็อค Vol 2
เพลงไทยสากล
เพลงไทยสากล
เพลงฮาร์ดร็อค
เพลงคันทรี่
เพลงบรรเลง
เพลงฮาร์ดร็อค
2
3
1
2
1
4
2
3
01/02/96
10/02/96
07/03/96
10/03/96
11/03/96
01/04/96
12/04/96
14/05/96
จากข้อมูลดิบในตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่าไม่มีประโยชน์ต่อการขาย ไม่สามารถนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจในการวางแผนการขายได้ จึงต้องมีการนำข้อมูลไปประมวลผลก่อน จากตารางด้านล่าง จะเห็นได้ว่าเป็นข้อมูลสารสนเทศมากขึ้น โดยจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอัลบัมเพลงร็อคทั้งหมด และเรียงลำดับการสั่งซื้อจากน้อยไปมาก ตารางที่ 2 รายงานยอดขายซีดีเพลงที่เป็นข้อมูลสารสนเทศ
รหัสลูกค้าชื่อลูกค้ารหัสอัลบัมชื่ออัลบัมจำนวนวันที่ซื้อ
4300
1100
2200
6800
ธงชัย
สมศักดิ์
วิไล
เจ
996
622
855
996
เพลงฮาร์ดร็อค
เพลงร็อค
เพลงร็อค Vol 2
เพลงฮาร์ดร็อค
1
2
3
3
11/03/96
01/02/96
10/02/96
14/05/96
จะเห็นว่า พนักงานขายท่านนี้ สามารถกลั่นกรองข้อมูลดิบ ให้เป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร และช่วยให้ผู้บริหารของเขาสามารถประหยัดเวลาในการตัดส่วนที่ไม่ใช้ออกด้วย ตัวเขาเอง นอกจากนี้ อาจจะสามารถนำเสนอด้วยวิธีอื่นๆ อาจทำการประมวลผลข้อมูลลักษณะอื่น ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการตัดสินใจ เช่น แสดงในรูปแบบกราฟ ดังรูปที่ 1.2 และ 1.3
รูปที่ 1.2 กราฟแสดงจำนวนการซื้ออัลบัมเพลงร็อคจำแนกตามอายุ
รูปที่ 1.3 กราฟแสดงจำนวนการซื้ออัลบัมเพลงร็อคจำแนกภูมิภาค
ระบบสารสนเทศ จึงเป็นเป็นระบบจัดการข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อระบบอื่นๆที่ต้องใช้ข้อมูลเหล่านั้น โดยเฉพาะระบบธุรกิจ ที่ต้องใช้ตัวเลข ข่าวสาร ข้อมูลในการประกอบธุรกิจ เช่น ระบบแจ้งหนี้ลูกค้า ระบบบัญชีต่าง ๆ ดังนั้นหน้าที่หลักของระบบสารสนเทศก็น่าจะเป็นการแปลง ข้อมูลจำนวนมากให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์
ระบบสารสนเทศอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ หรือไม่ใช้ก็ได้ แล้วแต่ละองค์กร แต่เนื่องจากเหตุผลของความ รวดเร็วและแม่นยำ ระบบสารสนเทศส่วนใหญ่จะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์
สำหรับสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและเครื่องมือการประมวลผล อาจจะใช้กระดาษเป็นสื่อ โดยประมวลผลด้วยคน หรือเก็บในลักษณะที่เป็น Electronic ที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศ
มนุษย์เริ่มคิดค้นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดิบต่างๆเข้าด้วยกันโดยขบวนการ ต่างๆ เช่น การบันทึกไว้ที่ผนังถ้ำ ใบลาน กระดาษ Electronic file หรือ ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรกมีการเก็บรวบรวมในแฟ้มข้อมูล ระบบสารสนเทศรุ่นแรกๆ มักจะเป็นการเก็บในรูปแฟ้มเอกสาร ที่แยกเป็นหมวดหมู่โดยมีพนักงานรับผิดชอบกับข้อมูลนั้นๆ ต่อมาได้มีการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อช่วยในการประมวลผลที่รวด เร็วแม่นยำ ทำให้ระบบ สารสนเทศสมัยใหม่เริ่มเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา เนื่องด้วยความสามารถที่สูงมากในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทำให้การเก็บรวบ รวมและการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ สามารถสร้าง ระบบสารสนเทศสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
ในชีวิตประจำวัน มนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารกันในรูปแบบของ สื่อมัลติมิเดีย (Multimedia) ตลอดเวลา "ข้อมูลสารสนเทศ" จึงมีความแตกต่างไป จากที่เราคุ้นเคย กล่าวคือ ข้อมูลไม่ใช่เป็นแต่เฉพาะตัวหนังสือ (Text) แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลในรูปแบบของ มัลติมิเดีย (Multimedia) ทุกรูปแบบอีกด้วย และข้อมูลสารสนเทศก็ไม่ใช่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น ปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศอยู่ทุกหนทุกแห่ง ตัวอย่างที่เห็นชัดของชีวิตประจำวันคือ เริ่มกันตั้งแต่เราตอกบัตรลงเวลาในเครื่องลงเวลาตอนเช้าเดินเลยไปที่โต๊ะทำ งานเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ภายในองค์กร (Intranet Mail) หรือ Voice Mail ในระบบโทรศัพท์รุ่นใหม่ ตลอดจนการซื้อสินค้าที่มีการใช้แถบบาร์โค้ด (Barcode) ที่เราคุ้นเคยกันเมื่อต้องจ่ายสตางค์ พนักงานขายเพียงนำสินค้าลากผ่านเครื่องอ่าน หรือระบบ EDI (Electronic Data Interchange) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล การซื้อของทั่วโลกผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมนุษย์ ได้นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศให้สามารถเกิดประโยชน์ อย่างเอกอนันต์ เพื่อทีจะบรรจุข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ลงในระบบสารสนเทศรุ่นใหม่
ดังนั้นอาจจะสรุป ระบบสารสนเทศรุ่นใหม่จะไม่อยู่ในวงแคบเหมือนสมัยก่อนที่มักจะมีแต่ตัวอักษร บนกระดาษอีกต่อไป ทำให้วิทยาการด้านนี้มีการพัฒนาการที่รวดเร็วตามกระแสความต้องการ หัวใจหลักของระบบสารสนเทศรุ่นใหม่ดังกล่าวคือ ระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ และมีระบบจัดการข้อมูลเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นศาสตร์การเรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์นี้
ลักษณะของสารสนเทศที่ดี จำแนกได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
  1. ความเป็นปัจจุบัน (Current) ข้อมูลปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ มีความทันสมัย เช่น เกรดนักศึกษา
  2. ทันเวลา (Timely) มีคุณค่าทางเวลามาเกี่ยวข้อง ถ้าไม่ได้สารสนเทศในเวลาที่ต้องการ อาจจะ เกิดการสูญเสียโอกาสได้
  3. ความเที่ยงตรง (Relevant) ข้อที่ได้ต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง
  4. ความคงที่ (Consistent) ข้อมูลที่เก็บไว้หลาย ๆ ที่ อาจไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน สารสนเทศที่ดีต้อง ไม่มีความขัดแย้งกัน หรือขัดแย้งกันน้อยที่สุด
  5. นำเสนอรูปแบบที่มีประโยชน์ (Present in usable form) มีรูปแบบในการนำเสนอที่เข้าใจง่าย เหมาะสม

1.2.ระบบแฟ้มข้อมูล (Electronic file or File system)

ในอดีตได้มีการใช้ระบบแฟ้มข้อมูลอย่างกว้างขวาง โดยที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มจะประกอบด้วยกลุ่มของระเบียน (Records) ที่มีรูปแบบ (Format) เหมือนกัน และแต่ละระเบียนจะเก็บข้อมูลที่แทนของอย่างหนึ่ง (An instance or occurrence) ในกลุ่มของของที่จัดเก็บนั้น ตัวอย่างเช่น แฟ้มข้อมูลลูกค้า (Customer file) หนึ่งระเบียนของแฟ้ม จะเป็นข้อมูลของลูกค้า 1 คน (One instance) เป็นต้น การจัดการโดยระบบแฟ้มข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกใช้งานเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น ถ้าเรามีงานอย่างอื่นที่ต้องการใช้ข้อมูลคล้ายกัน แต่ในรูปแบบที่ต่างกัน ข้อมูลบางส่วนที่ซ้ำกันนี้จะถูกจัดเก็บในอีกแฟ้มข้อมูลอื่นต่างหาก ในการจัดการข้อมูลลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อน (Redundancy) ของข้อมูล อันก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการให้มีข้อมูลที่ถูกแทนสิ่งเดียวกัน ถูกต้องตรงกันในทุก ๆ แฟ้มข้อมูล
1.2.1. หน่วยในการจัดเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ โดยแท้จริงแล้วมีลักษณะการจัดเก็บเป็นสัญญาณดิจิตอล คือมีค่า 0 กับ 1 เท่านั้น แต่เพื่อให้มองภาพข้อมูลได้ง่าย จึงแบ่งหน่วยในการจัดเก็บข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ต่างๆ ดังนี้
  1. บิต (Bit) คือหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุด คือการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เพียง 2 สถานะ คือ 0 กับ 1 ซึ่งเป็น ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยระดับสัญญาณดิจิตอล
  2. ไบต์ (Byte) คือหน่วยของข้อมูลซึ่งเกิดจากการนำข้อมูล 8 บิตมารวมกัน โดยใช้ แทน ตัวอักขระ 1 ตัว
  3. เขตข้อมูล (Field) หรือฟิลด์ คือหน่วยของข้อมูลซึ่งเกิดจากการนำข้อมูลหลายๆ ไบต์ หรือหลายๆ อักขระมารวม กัน เพื่อใช้แทนความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รหัสนักศึกษา, ชื่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
  4. ระเบียน (Record) หรือ เรคคอร์ด คือหน่วยของข้อมูลซึ่งเกิดจากการนำข้อมูล หลายๆ เขตข้อมูลมารวมกัน ซึ่งเขตข้อมูล ที่นำมารวมกันนี้ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เช่น รหัสนักศึกษา, ชื่อ, ที่อยู่ รวมกันเป็นระเบียนข้อมูล ของนักศึกษา เป็นต้น
  5. แฟ้มข้อมูล (File) หรือไฟล์ คือ หน่วยของข้อมูลซึ่งเกิดจากการนำข้อมูลหลายๆ ระเบียน ที่มีลักษณะ ของเขต ข้อมูลเหมือนกันมาจัดเก็บรวมกัน เช่นการจัดเก็บข้อมูลระเบียนของนักศึกษา หลายๆ คน รวมกันเป็น แฟ้มข้อมูลนักศึกษาเป็นต้น ซึ่งข้อมูลแต่ละระเบียนที่นำมารวมกันจะต้องมี เขตข้อมูล อย่างน้อย 1 เขต ข้อมูลที่แยกความแตกต่างของข้อมูลในแต่ละระเบียนได้หลายๆ คน รวมกันเป็น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา เป็นต้น ซึ่งข้อมูลแต่ละระเบียนที่นำมารวมกันจะต้องมี เขตข้อมูล อย่างน้อย 1 เขต ข้อมูลที่แยกความแตกต่างของข้อมูลในแต่ละระเบียนได้ ตัวอย่างของหน่วยข้อมูลต่างๆ แสดงดังรูปที่ 1.4
รูปที่ 1.4 หน่วยข้อมูลต่างๆ
ในยุคเริ่มแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูล จะใช้ระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งแฟ้ม ข้อมูลแต่ละแฟ้มมักจะถูกสร้างตามภาษาคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการ เขียนโปรแกรม เช่น หาก โปรแกรมเมอร์ใช้ภาษาซี ในการเขียนโปรแกรม แฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างก็จะมีโครงสร้าง ของแฟ้ม ข้อมูล ตามโครงสร้าง ที่ภาษาซีกำหนดไว้ ตัวอย่างการใช้งานแฟ้มข้อมูลแสดงดังรูปที่ 1.5
รูปที่ 1.5 การใช้งานระบบแฟ้มข้อมูล
จากรูปที่ 1.5 จะเห็นได้ว่าแผนกบุคคล และแผนกบัญชี ได้มีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งานในแผนกของตนเอง โดยแผนกบุคคลใช้ภาษาซีเขียนโปรแกรมบริหารงานบุคลากร ซึ่งจะใช้งานแฟ้ม ข้อมูลบุคลากร และแผนกบัญชีใช้ ภาษาปาสคาลเขียนโปรแกรมจัดการเงินเดือน ซึ่งต้องใช้แฟ้มข้อมูล 2 แฟ้มคือ แฟ้มข้อมูลบุคลากร และแฟ้มข้อมูลการทำงาน จากรูปจะเห็นว่ามีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากร ซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากทั้งสองแผนก ไม่สามารถนำข้อมูลบุคลากรมาใช้ร่วมกันได้ เพราะโครงสร้างของ แฟ้มข้อมูลต่างกัน
ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล มีดังต่อไปนี้
1) Data redundancy ได้แก่ข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มหรือมากกว่า ซึ่งการจะดูว่าข้อมูลซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ให้พิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้ fact หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เป็นไปได้หรือเป็นจริง เช่น
ลำใย สำเร็จการศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำใย เป็นโปรแกรมเมอร์
ลำไย มีงานอดิเรกในการร้องเพลง
ข้อความทั้งหมดที่ยกมานี้ไม่ถือว่าซ้ำซ้อนกัน เพราะเป็นคนละ fact กัน
         Redundancy หมายถึง fact ที่ปรากฏมากกว่า 1 ครั้ง หรือถูกเก็บไว้มากกว่า 1 ครั้ง
ยกตัวอย่างเช่น เก็บชื่อ ตำแหน่ง และแผนกไว้ในตารางพนักงานและตารางโครงการถือว่าซ้ำซ้อนกัน ฐานข้อมูลแบบตารางจะมีความซ้ำซ้อนของข้อมูลเกิดขึ้นได้ 3 แบบ ดังนี้
1.1 ความซ้ำซ้อนระหว่างตาราง (Inter relation redundancy)
1.2 ความซ้ำซ้อนภายในตารางเดียวกัน (Intra relation redundancy)
1.3 ความซ้ำซ้อนบน row เดียวกัน (Intra row redundancy)
ข้อเสีย ของความซ้ำซ้อน คือ
- เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ
- เพิ่มค่าใช้จ่ายในการนำเข้าข้อมูล
- จะต้องตามแก้ไขข้อมูลทุกที่ เมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
- การเชื่อมตารางจะใช้ทรัพยากรมาก และช้า
ข้อดี
- การทำ query report จะเร็วขึ้น
2) Data inconsistency เป็นผลมากจาก Data redundancy คือ ข้อมูลชุดเดียวกันมีค่าต่างกัน ทำให้ไม่ทราบว่าข้อมูลชุดใดคือข้อมูลที่ถูกต้อง
3) Data anomaly เป็นผลมาจาก Data redundancy เช่นกัน ทำให้การเพิ่ม ลบ หรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลชุดเดียวกันในแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ซึ่งเกิดใน 3 ลักษณะ ดังนี้
3.1) Modification anomaly เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าของข้อมูลในแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่ สัมพันธ์กันไม่ครบถ้วน เช่น เปลี่ยนชื่อ "ดวงใจ" ไปเป็น "ดวงพร" ในแฟ้มข้อมูล Employee โดยไม่เปลี่ยนชื่อของพนักงานคนเดียวกันในแฟ้ม Salesman จะส่งผลให้ "ดวงพร" และ "ดวงใจ" ไม่ใช่คนเดียวกันเมื่อทำการเรียกข้อมูลมาดู เป็นต้น 3.2) Insertion anomaly เป็นการกำหนดข้อมูลเพิ่มเติมให้กับแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันไม่ ครบถ้วน เช่น มีการเพิ่มข้อมูลพนักงานขายคนใหม่ชื่อ "สมบูรณ์" เฉพาะแฟ้มข้อมูล Salesman โดยไม่ได้เพิ่มข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล Employee เป็นต้น 3.3) Deletion anomaly เป็นการลบข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันไม่ครบถ้วน เช่น กรณีที่พนักงานชื่อ "ขจรศรี" ลาออกแล้ว มีการลบข้อมูลของพนักงานคนนั้นเฉพาะแฟ้มข้อมูลพนักงาน โดยไม่ได้ลบข้อมูลของพนักงานคนเดียวกันในแฟ้มข้อมูลพนักงานขาย เป็นต้น

1.3.ระบบฐานข้อมูล (Database system)

โดยทั่วไปแล้วความหมายของฐานข้อมูลจะหมายถึง การเก็บรวบรวมไฟล์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาอยู่รวมกันไว้เข้าด้วยกัน (Integrated) อย่างมีระบบ ไฟล์ในที่นี้จะหมายถึง logical file ความนี้จะเป็นความหมายทั่ว ๆ ไป ซึ่งยังไม่สมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ เนื่องจาก logical file จะประกอบด้วยกลุ่มของ records แต่ความจริงแล้วอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เช่น ฐานข้อมูลใหม่ ๆ ที่เป็น object oriented model จะประกอบด้วยกลุ่มของ objects ดังนั้น ความหมายของฐานข้อมูลที่ครอบคลุมถึง object oriented ด้วยก็คือความหมายต่อไปนี้ ฐานข้อมูล หมายถึง ที่เก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้น (A collection of data and relationships) โดยปกติแล้ว ในเรื่องของฐานข้อมูลมักจะเกี่ยวข้องกับ logical file มากกว่า physical file โดยเฉพาะการออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นการออกแบบในส่วนของ logical file ถ้ากล่าวถึง logical file จะเป็นมุมมองของผู้ใช้หรือ application program แต่ถ้ากล่าวถึง physical file จะเป็นมุมมองของ system หรือ operating system การเกี่ยวข้องกันระหว่าง physical file กับ logical file นั้นก็คือ สามารถใช้ physical file มาสร้าง logical file ได้ สำหรับการเปลี่ยน logical file เป็น physical file นั้น ในระดับไฟล์ธรรมดาจะใช้ Operating system แต่ถ้าเป็นฐานข้อมูลจะใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นตัวเปลี่ยน (map) และนำเสนอโครงสร้างข้อมูลให้กับ application หรือผู้ใช้ เช่น ถ้าเราใช้ฐานข้อมูลแบบ relational model โครงสร้างที่เห็นจะเป็นตาราง (relation) แต่ฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบ hierarchical model หรือ network model นั้น application หรือผู้ใช้จะมองเห็นเป็น tree และ link list ตามลำดับ
ระบบฐานข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายการนำแฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน แต่ลักษณะโครงสร้างการจัดเก็บ รวมทั้งวิธีการใช้งานข้อมูลของฐานข้อมูล จะมีความแตกต่างออกไปจากแฟ้มข้อมูล ซึ่งการใช้งานระบบฐานข้อมูลจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ข้อมูลและเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล ที่เรียกว่า "Database Management System (DBMS)" หรือระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งผู้ใช้จะต้องใช้งานฐานข้อมูล ผ่านทางระบบจัดการฐานข้อมูลนี้เท่านั้น แสดงระบบจัดการฐานข้อมูลดังรูปที่ 1.6
รูปที่ 1.6
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลที่สำคัญ
1) ความถูกต้องของข้อมูล (Data Integrity) มี 2 ประเภท
- Static Integrity (State of Data)
เป็นความถูกต้องของเนื้อข้อมูล เช่น ผู้หญิงลาบวชไม่ได้ ผู้ชายลาคลอดไม่ได้ อายุของ พนักงานอยู่ระหว่าง 18-60 ปี หรือสมาชิกยืมหนังสือได้ไม่เกิน 5 เล่ม เป็นต้น
- Dynamic Integrity (State of Transition)
เป็นความถูกต้องของลำดับการแก้ไข เช่น การแก้ไขสถานะภาพสมรสของพนักงาน ดังรูปที่ 1.7

รูปที่ 1.7 แสดงลำดับการแก้ไขสถานะภาพสมรส
ความถูกต้องของข้อมูลจะถูกบังคับโดย Integrity rule หรือ integrity constrains และไม่ควรถูกจัดการโดยโปรแกรม แต่จะถูกจัดการโดยระบบจัดการฐานข้อมูล 2) ความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)
หมายถึงการที่โปรแกรมเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
2.1) ความเป็นอิสระทางกายภาพ (Physical Data Independence)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลระดับล่าง (Physical structure) จะไม่มีผลกระทบต่อโปรแกรม เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลจากการเก็บแบบ sequential file เป็นแบบ Index file โปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลจาก file เหล่านี้จะไม่มีการแก้ไขหรือไม่ต้องการทำ compile ใหม่ หรือการโยกย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งก็ไม่มีผลกระทบต่อโปรแกรม
2.2) ความเป็นอิสระทางตรรกะภาพ (Logical Data Independence)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลระดับกลางหรือระดับหลักการ (Conceptual level) ซึ่งเป็น logical structure จะไม่มีผลกระทบต่อโปรแกรม เช่น การเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปในโครงสร้างระดับกลางที่ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) เป็นผู้กำหนดโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เพิ่มเข้าไปนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือ compile ใหม่ อีกความหมายหนึ่งก็คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลระดับบน (External level) ก็ไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลระดับกลางและข้อมูลระดับล่าง เช่น การสลับลำดับของฟิลด์ในโปรแกรม เป็นต้น
ความเป็นอิสระของข้อมูลนี้ทำให้โปรแกรมสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ด้วยภาษาต่าง กัน เช่น โปรแกรมหนึ่งเรียกใช้ข้อมูลได้ด้วยภาษาต่างกัน เช่น โปรแกรมหนึ่งเรียกใช้ข้อมูลด้วยภาษา COBOL อีกโปรแกรมหนึ่งเรียกใช้ข้อมูลด้วยภาษา SQL นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่โปรแกรมสามารถเห็นข้อมูลได้หลายรูปแบบแตกต่างกัน
คุณลักษณะที่ดีของฐานข้อมูล (Good Characteristics of Database System)
1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลให้เหลือน้อยที่สุด (Minimum redundancy)
เป็นการทำให้ปัญหาเรื่องข้อมูลไม่ตรงกันลดน้อยลงหรือหมดไป โดยนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันเพื่อตัดหรือลดส่วนที่ซ้ำกันทิ้งไป ให้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียว และเป็นผลทำให้สามารถแบ่งข้อมูลกันใช้ได้ระหว่างผู้ใช้หลาย ๆ คน รวมทั้งการใช้ข้อมูลเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย 2) ความถูกต้องสูงสุด (Maximum Integrity : Correctness) ในระบบฐานข้อมูลจะมีความถูกต้องของข้อมูลสูงสุด เพราะว่าฐานข้อมูลมี DBMS คอยตรวจสอบกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ (Integrity Rules) ให้ทุกครั้งที่มีการแก้ไขข้อมูลหรือเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปในระบบฐานข้อมูล นั้น โดยกฎเกณฑ์เหล่านี้จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลตามแนวคิดของ International Organization for Standard (ISO) แต่ในปัจจุบันมี DBMS บาง product ที่ข้อบังคับเหล่านี้ไม่ได้ผูกติดอยู่กับฐานข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในโปรแกรม การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เหล่านี้ทำให้ต้องแก้ไขโปรแกรมตามไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งไม่สะดวก เช่นเดียวกับระบบแฟ้มข้อมูลเดิมทำให้เกิดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าย้ายการเก็บข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มาไว้ที่ฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลบางชนิดจะมีฟังก์ชั่นพิเศษ (trigger) กับ procedure อยู่บน FORM ปัจจุบันจะมีให้เลือกว่าจะไว้บนจอหรือไว้ในกฎเกณฑ์กลาง ซึ่งจะเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลเรียกว่า stored procedure ซึ่งถูกควบคุมดูแลโดย DBMS สำหรับ DBMS ชั้นดีส่วนใหญ่จะเป็น compile stored procedure เพราะเก็บกฎเกณฑ์เหล่านี้ไว้ที่ stored procedure ไม่ได้เก็บไว้ในโปรแกรมเหมือนระบบแฟ้มข้อมูลเดิม ดังนั้นเมื่อเงื่อนไขเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปก็จะทำการแก้ไขเพียงแห่งเดียว ทำให้ระบบฐานข้อมูลมีความถูกต้องของข้อมูลมากที่สุด และลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา และบำรุงรักษา
3) มีความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)
ถือเป็นคุณลักษณะเด่นของฐานข้อมูลซึ่งไม่มีในระบบไฟล์ธรรมดา เนื่องจากในไฟล์ธรรมดาจะเป็นข้อมูลที่ไม่อิสระ (data dependence) กล่าวคือ ข้อมูลเหล่านี้จะผูกพันอยู่กับวิธีการจัดเก็บและการเรียกใช้ข้อมูลซึ่งใน ลักษณะการเขียนโปรแกรมเราจำเป็นต้องใส่เทคนิคการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ไว้ในโปรแกรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมตามไป ด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลทั้งในระดับ logical และ physical ย่อมมีผลกระทบต่อโปรแกรม แต่ถ้าข้อมูลเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลแล้วปัญหานี้จะหมดไป เพราะฐานข้อมูลมี DBMS คอยดูแลจัดการให้ ทำให้โปรแกรมเหล่านี้เป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล
4) มีระบบความปลอดภัยของข้อมูลสูง (High Degree of Data Security)
ฐานข้อมูลจะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง โดย DBMS จะตรวจสอบรหัสผ่าน (login password) เป็นประเด็นแรก หลังจากผ่านเข้าสู่ระบบได้แล้ว DBMS จะตรวจสอบดูว่าผู้ใช้นั้นมีสิทธิใช้ข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด เช่น จะอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ in query หรือ update และสามารถทำได้เฉพาะตารางใดหรือแถวใดหรือคอลัมน์ใด เป็นต้น นอกจากนี้ โครงสร้างข้อมูลระดับล่างยังถูกซ่อนไว้ไม่ให้ผู้ใช้มองเห็นว่าอยู่ตรงไหน DBMS จะไม่ยอมให้โปรแกรมใด ๆ เข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ผ่าน DBMS
5) การควบคุมจะอยู่ที่ส่วนกลาง (Logically Centralized Control)
แนวความคิดนี้จะนำไปสู่ระบบการปฏิบัติงานที่ดี อย่างน้อยสามารถควบคุมความซ้ำซ้อนและความปลอดภัยของข้อมูลได้ นอกจากนี้ในการควบคุมทุกอย่างให้มาอยู่ที่ส่วนกลางจะนำมาสู่ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหาร (MIS) โดยต้องมีการควบคุมดูแลจากศูนย์กลางทั้งการใช้และการสร้างโดยหลักการแล้ว จะไม่ยอมให้โปรแกรมเมอร์สร้างตารางหรือวิวเอง แต่จะให้ผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นผู้สร้างให้ เพื่อจะได้ทราบว่าตารางหรือวิวซ้ำหรือไม่ นอกจากนี้ผู้บริหารฐานข้อมูลจะเป็นผู้ให้สิทธิแก่ผู้ใช้วิว ดังนั้น โปรแกรมเมอร์จะต้องติดต่อประสานงานกับผู้บริหารฐานข้อมูลในการจัดทำรายงาน คุณลักษณะนี้จะทำให้มีความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อมูลมาอยู่รวมกัน

1.4 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล จะช่วยแก้ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล และมีประโยชน์ หลายๆ ด้านดังนี้ 1.4.1 ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เนื่องจากการนำข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานมาจัดเก็บไว้ รวมกันเป็นฐานข้อมูลส่วนกลาง ทำให้แต่ละหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูล ไม่ต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วย งานของตนเองอีก นอกจากลดความสิ้นเปลืองในการจัดเก็บแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดตามมา เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
1.4.2 แก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลที่ซ้ำๆ กันอยู่หลายที่ หากมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในที่หนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้แก้ไขข้อมูลในที่ อื่นๆ ตามด้วย ก็จะทำให้ข้อมูลในแต่ละที่เกิดความขัดแย้งกันขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลไว้เพียงที่เดียวจึง ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูลได้
1.4.3 การบริหารจัดการฐานข้อมูลทำได้ง่าย เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้การ จัดการข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator: DBA)
1.4.4 กำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางที่เดียวดังนั้น DBA จะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้โครงสร้างของข้อมูลต่างๆ
1.4.5 สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากโครงสร้างการจัด เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะ ถูก กำหนดด้วย DBMS และผู้ใช้แต่ละคนจะต้องใช้งานผ่าน DBMS เท่านั้น ดังนั้นจึงสามารถใช้งาน ฐาน ข้อมูลร่วมกันได้โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ นอกจากนี้ข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นมา ก็สามารถใช้งานได้ถ้าหากได้รับสิทธิในการใช้งานข้อมูลดังกล่าว
1.4.6 เกิดความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับโปรแกรม จากปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งการ แก้ไขโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล เช่นการเพิ่มฟิลด์ ซึ่งโปรแกรมที่มีอยู่เดิมไม่จำเป็นต้องนำไปใช้งาน แต่ต้องทำการแก้ไขโปรแกรมเนื่องจากการเขียนโปรแกรมจะยึดติดกับโครงสร้างของ แฟ้มข้อมูล หากใช้งานเป็นระบบฐานข้อมูล จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เนื่องจากการใช้งานต่างๆ จะต้องใช้งานไว้เพียงที่เดียวจึง ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูลได้
1.4.7 กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลแต่ละข้อมูลจะมีความ สำคัญไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดสิทธิในการใช้งาน ข้อมูลแต่ละส่วน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ผู้บริหารฐานข้อมูล เป็นผู้กำหนดว่าใครมีสิทธิใช้งานข้อมูลส่วนไหนได้บ้าง

1.5 องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

1.5.1 Data หมายถึงข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลด้วย ดังนั้น data ในที่นี้จึงหมายถึง database
1.5.2 Hardware ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลประกอบด้วย secondary storage เช่น disk และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.5.3 Software คือโปรแกรมที่จัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยปกติแล้วจะเรียกว่าระบบจัดการ ฐานข้อมูลหรือ DBMS ส่วนนี้จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างข้อมูลกับผู้ใช้ ดังนั้น การเรียกใช้หรือดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลจะต้องผ่าน DBMS
1.5.4 User ได้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เช่น ผู้บริหารฐานข้อมูล โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ และผู้ใช้

1.6 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล

1.6.1 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator หรือ DBA) เป็นบุคคลคนเดียว หรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและบริหารทรัพยากรฐานข้อมูลของ องค์กรให้สามารถดำเนินการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลโดยความร่วมมือช่วยเหลือจาก พนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่สามารถติดต่อกับผู้บริหารระดับสูง ผู้ใช้แผนกต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และควรมีความรู้ทั้งหลักการบริหารและด้านเทคนิคของระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) หน้าที่ของผู้บริหารฐานข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน
- การออกแบบฐานข้อมูลจะต้องทราบวิธีออกแบบและรายละเอียดของระบบงาน ซึ่งที่จริงแล้วในส่วนนี้ควรจะเป็นหน้าที่ของผู้จัดการข้อมูลหรือ DA (Data Administrator) ซึ่งก็คือ SA (System Analysis) โดยผู้ใช้หรือเจ้าของระบบงานเขียนและออกแบบโครงสร้างด้วย ER Model แต่ SA จะออกแบบอัลกอริทึม
- การปฏิบัติงานกับ DBMS จะต้อบทราบเทคโนโลยีของ DBMS ดังนั้น ในส่วนนี้จะเป็นหน้าที่ของ DBA โดย DBA จะต้องทราบวิธีการปฏิบัติงานกับ DBMS ดังนี้
1. การติดตั้งระบบจัดการฐานข้อมูล (Install DBMS) 2. การจัดสรรเนื้อที่ในดิสก์ (allocate disk space) 3. การสร้างโครงสร้างของข้อมูล (create data structure) 4. การทำข้อมูลสำรองเอง (backup) และการฟื้นสภาพข้อมูล (recovery) 5. การปรับผลการปฏิบัติงาน (performance tuning)
DBA จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้
1.6.2 นักวิเคราะห์และออกแบบ (System Analyst) ทำหน้าที่ออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ของระบบงาน
1.6.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application program) สำหรับใช้กับฐานข้อมูล อาจจะเขียนด้วยภาษาระดับสูง เช่น SQL เป็นต้น
1.6.4 ผู้ใช้ (End User) เจ้าของระบบงานที่ต้องการเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยอาจผ่านทางโปรแกรมประยุกต์หรือภาษาเรียกค้น เช่น SQL ผู้ใช้เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ถึงแม้ว่าฐานข้อมูลจะมีคุณลักษณะที่ดีดังได้กล่าวมาข้างต้นแต่ก็มีข้อเสียดังนี้
1. ขนาดของระบบจัดการฐานข้อมูลมักมีขนาดใหญ่และราคาแพง เนื่องจากซอฟต์แวร์ประกอบด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ มากมาย จึงต้องการฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้นทั้งหน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง
2. ต้องอาศัยผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี ระบบการจัดการฐานข้อมูล
3. ถ้าระบบเสียจะทำให้มีผลต่อผู้ใช้หลายคน
4. ความเป็นเจ้าของข้อมูลลดลง ข้อมูลจะไม่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ

1.7 ตัวอย่างซอฟต์แวร์จัดการระบบฐานข้อมูลในปัจจุบัน

ระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ คือระบบ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสามารถในการจัดการฐานข้อมูลครบทุกด้าน และอีกกลุ่มคือระบบฐาน ข้อมูลขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งมีความสามารถในการจัดการฐานข้อมูลเช่นกัน แต่อาจจะขาดความสามารถ บางอย่างไป ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลต่างๆ มีดังนี้ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลที่เหมาะสำหรับระบบงานใหญ่ เช่น Oracle, Microsoft SQL, MySQL, Sysbase, DB2, Informix, Ingres เป็นต้น
รูปที่ 1.8 ตัวอย่างซอร์ฟแวร์จัดการระบบฐานข้อมูล

สรุปบทเรียน

ระบบฐานข้อมูล คือการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องมีไว้ใช้งาน และมีความสัมพันธ์กัน นำมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน มีลักษณะคล้ายกับการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มมาจัดเก็บอยู่ที่เดียวกัน แต่โครงสร้างในการจัดเก็บ จะแตกต่าง ไปจากระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะช่วยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบแฟ้มข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูลได้มากขึ้น โดยมีตัวกลางในการจัดการข้อมูลคือ ระบบจัดการฐานข้อมูล ที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า DBMS การใช้งานต่างๆ จะต้องกระทำผ่าน DBMS เท่านั้น สรุปหน่วยที่ 1

0 comments:

Post a Comment

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!