ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์
• ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ผู้คิดพัฒนาภาษากำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนการสื่อสาร / สั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
• ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์
แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
1. ภาษาเครื่อง
-เป็นภาษาระดับต่ำ
-ใช้เลข 0 และ 1 ภาษาเครื่องเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้โดยตรง จึงไม่ต้องมีตัวแปลภาษา
-โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเครื่อง จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมเท่านั้น
2. ภาษาแอสเซมบลี เรียกอีกอย่างว่า “ภาษาสัญลักษณ์” เป็นภาษาระดับต่ำ
-ใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง เป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จดจำได้ง่าย เรียกว่า นิวมอนิกโค้ด เช่น
A แทน การบวก(Add)
C แทน การเปรียบเทียบ(Compare)
MP แทน การคูณ(Multiply)
STO แทน การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ(Store)
-ต้องทำการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอ(Assembler) ซึ่งจะแปลโปรแกรมต้นฉบับ(Source code)ที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ให้เป็น ภาษาเครื่อง
3.ภาษาระดับสูง
-ใช้รูปแบบคำภาษาอังกฤษแทนรหัสคำสั่งต่าง ๆ
-เป็นภาษาแบบโพรซีเยอร์
-โปรแกรมที่พัฒนาจากภาษาระดับสูง ต้องทำการแปลคำสั่งโปรแกรมต้นฉบับ(Source code) ที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
-ตัวอย่างภาษาระดับสูงเช่น ภาษาเบสิก ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทรน เป็นต้น
4.ภาษาระดับสูงมาก
-ใช้คำภาษาอังกฤษแทนคำสั่งงาน เช่นเดียวกับ ภาษาระดับสูง
-เป็นภาษาแบบไม่เป็นโพรซีเยอร์
-เขียนง่ายและสะดวกกว่าภาษาระดับสูง
-ตัวอย่างภาษาเช่น ภาษาSQL ที่ใช้ในฐานข้อมูล เป็นต้น
-ภาษาระดับสูงมากไม่ได้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานตามลำพังจึงต้องทำงานร่วมกับภาษาอื่นๆ
5.ภาษาธรรมชาติ
-ภาษาธรรมชาติไม่สนใจรูปแบบคำสั่งหรือลำดับที่เคร่งครัด
-ผู้ใช้สามารถพิมพ์สิ่งที่ต้องการในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคที่ผู้ใช้ เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเพื่อทำตามคำสั่ง
-ภาษาธรรมชาตินิยมนำมาประยุกต์งานด้าน ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ตัวแปลภาษา
หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมต้นฉบับ(Source code) ที่เขียนขึ้น ให้เป็นภาษาเครื่องที่เป็นเลขฐานสอง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ
ประเภทของตัวแปลภาษา
-โปรแกรมแปลภาษาแบบแอสเซมเบลอ (Assembler)
-โปรแกรมแปลภาษาแบบคอมไพเลอร์(Compiler)
-โปรแกรมแปลภาษาแบบอินเทอร์พรีเทอร์(Interpreter)
Assembler
คือ แปลเฉพาะภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเท่านั้น
Compiler
-แปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรม ที่เขียนจากภาษาระดับสูง ให้เป็นออบเจ็กต์(Object Code)
Object code สามารถนำไปใช้ได้ทันที
-ระหว่างการแปล หากพบข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่ง จะแสดงข้อผิดพลาดและหยุดการแปลเมื่อเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการแปล ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขและแปลใหม่อีกครั้ง
-ตัวอย่างภาษาที่ใช้ compiler ได้แก่ FORTRAN , PASCAL , C , C++ เป็นต้น
Interpreter
-แปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรม ที่เขียนจากภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง
-แปล Source code ทีละคำสั่ง ให้เป็น Object code
-ถ้าพบข้อผิดพลาดจะหยุดทำงาน และให้ดำเนินการแก้ไขคำสั่งที่ผิด จึงเริ่มประมวลผลใหม่
-ตัวอย่างภาษาที่ใช้ Interpreter ได้แก่ ภาษา BASIC เป็นต้น
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
- คุณสมบัติที่สำคัญของ OOP คือ การซ่อนข้อมูล (Encapsulation) , การสืบทอด(Inheritance) และการพ้องรูป
- ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียน OOP ได้แก่ ภาษาจาวา(JAVA) , ภาษา C++ , ภาษา Smalltalk เป็นต้น
ภาษาคอมพิวเตอร์
• ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ผู้คิดพัฒนาภาษากำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนการสื่อสาร / สั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
• ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์
แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
1. ภาษาเครื่อง
-เป็นภาษาระดับต่ำ
-ใช้เลข 0 และ 1 ภาษาเครื่องเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้โดยตรง จึงไม่ต้องมีตัวแปลภาษา
-โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเครื่อง จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมเท่านั้น
2. ภาษาแอสเซมบลี เรียกอีกอย่างว่า “ภาษาสัญลักษณ์” เป็นภาษาระดับต่ำ
-ใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง เป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จดจำได้ง่าย เรียกว่า นิวมอนิกโค้ด เช่น
A แทน การบวก(Add)
C แทน การเปรียบเทียบ(Compare)
MP แทน การคูณ(Multiply)
STO แทน การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ(Store)
-ต้องทำการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอ(Assembler) ซึ่งจะแปลโปรแกรมต้นฉบับ(Source code)ที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ให้เป็น ภาษาเครื่อง
3.ภาษาระดับสูง
-ใช้รูปแบบคำภาษาอังกฤษแทนรหัสคำสั่งต่าง ๆ
-เป็นภาษาแบบโพรซีเยอร์
-โปรแกรมที่พัฒนาจากภาษาระดับสูง ต้องทำการแปลคำสั่งโปรแกรมต้นฉบับ(Source code) ที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
-ตัวอย่างภาษาระดับสูงเช่น ภาษาเบสิก ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทรน เป็นต้น
4.ภาษาระดับสูงมาก
-ใช้คำภาษาอังกฤษแทนคำสั่งงาน เช่นเดียวกับ ภาษาระดับสูง
-เป็นภาษาแบบไม่เป็นโพรซีเยอร์
-เขียนง่ายและสะดวกกว่าภาษาระดับสูง
-ตัวอย่างภาษาเช่น ภาษาSQL ที่ใช้ในฐานข้อมูล เป็นต้น
-ภาษาระดับสูงมากไม่ได้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานตามลำพังจึงต้องทำงานร่วมกับภาษาอื่นๆ
5.ภาษาธรรมชาติ
-ภาษาธรรมชาติไม่สนใจรูปแบบคำสั่งหรือลำดับที่เคร่งครัด
-ผู้ใช้สามารถพิมพ์สิ่งที่ต้องการในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคที่ผู้ใช้ เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเพื่อทำตามคำสั่ง
-ภาษาธรรมชาตินิยมนำมาประยุกต์งานด้าน ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ตัวแปลภาษา
หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมต้นฉบับ(Source code) ที่เขียนขึ้น ให้เป็นภาษาเครื่องที่เป็นเลขฐานสอง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ
ประเภทของตัวแปลภาษา
-โปรแกรมแปลภาษาแบบแอสเซมเบลอ (Assembler)
-โปรแกรมแปลภาษาแบบคอมไพเลอร์(Compiler)
-โปรแกรมแปลภาษาแบบอินเทอร์พรีเทอร์(Interpreter)
Assembler
คือ แปลเฉพาะภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเท่านั้น
Compiler
-แปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรม ที่เขียนจากภาษาระดับสูง ให้เป็นออบเจ็กต์(Object Code)
Object code สามารถนำไปใช้ได้ทันที
-ระหว่างการแปล หากพบข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่ง จะแสดงข้อผิดพลาดและหยุดการแปลเมื่อเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการแปล ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขและแปลใหม่อีกครั้ง
-ตัวอย่างภาษาที่ใช้ compiler ได้แก่ FORTRAN , PASCAL , C , C++ เป็นต้น
Interpreter
-แปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรม ที่เขียนจากภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง
-แปล Source code ทีละคำสั่ง ให้เป็น Object code
-ถ้าพบข้อผิดพลาดจะหยุดทำงาน และให้ดำเนินการแก้ไขคำสั่งที่ผิด จึงเริ่มประมวลผลใหม่
-ตัวอย่างภาษาที่ใช้ Interpreter ได้แก่ ภาษา BASIC เป็นต้น
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
- คุณสมบัติที่สำคัญของ OOP คือ การซ่อนข้อมูล (Encapsulation) , การสืบทอด(Inheritance) และการพ้องรูป
- ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียน OOP ได้แก่ ภาษาจาวา(JAVA) , ภาษา C++ , ภาษา Smalltalk เป็นต้น
0 comments:
Post a Comment