Saturday, July 18, 2015

คำสั่งควบคุม ( Control Statement) 
 การ เขียนโปรแกรมสั่งงานจะมีบางขั้นตอนที่จะต้องมีทางเลือกหรือทำซ้ำให้กับ โปรแกรม เพื่อกำหนดวิธีการประมวลผลโดยอาศัยตัวแปรและค่าของตัวแปร โดยการระบุเงื่อนไขเพื่อกำหนดให้เป็นทางเลือกหรือการทำซ้ำ ถ้าค่าตัวแปรตรงกับค่าที่กำหนดในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้โปรแกรมปฏิบัติการ ตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคำสั่งควบคุมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ คำสั่งเพื่อการวนรอบ และคำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข โดยในบทนี้จะกล่าวถึงคำสั่งเพื่อการวนรอบ
        คำ สั่งควบคุม ( Control Statement) ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขหรือรูปแบบที่ผู้พัฒนาโปรแกรม ต้องการ ซึ่งคำสั่งควบคุมแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
       1.คำสั่งเพื่อการวนรอบ ( Loop Statement)
       2.คำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข (Conditional Statement)
        การ เขียนโปรแกรมสั่งงานจะมีบางขั้นตอนที่จะต้องมีทางเลือกหรือทำซ้ำให้กับ โปรแกรมเพื่อกำหนดวิธีการประมวลผลโดยอาศัยตัวแปรและค่าของตัวแปร โดยการระบุเงื่อนไขเพื่อกำหนดให้เป็นทางเลือกหรือการทำซ้ำ ถ้าค่าตัวแปรตรงกับค่าที่กำหนดในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้โปรแกรมปฏิบัติการ ตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงคำสั่งเพื่อการวนรอบ ส่วนคำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข

คำสั่งเพื่อการวนรอบ ( Loop Statement)
           คำ สั่งเพื่อการวนรอบหรือเพื่อการทำซ้ำ เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลเหตุการณ์ที่ต้องการทำซ้ำ ๆ มากกว่าหนึ่งครั้งโดยการตรวจสอบเงื่อนไข ซึ่งประกอบด้วย
•  ฟังก์ชัน for
•  ฟังก์ชัน While
•  ฟังก์ชัน Do…while
•  ฟังก์ชัน break
•  ฟังก์ชัน continue
คำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข ( Conditional Statement) 
 รูป แบบการตัดสินใจในการทำงานหรือทางเลือกที่จะต้องมีการตัดสินใจเลือกทำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เปรียบได้กับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น คุณจะอาบน้ำหรือทานข้าวก่อนไปทำงาน คุณจะขับรถหรือนั่งรถโดยสารไปเรียนหนังสือ เป็นต้น โดยทางเลือกในการทำงานจะมีอยู่ 2 เงื่อนไข คือ ทางเลือกที่เป็นจริง และทางเลือกที่เป็นเท็จ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็ต้องมีทางเลือกเพื่อประมวลผลหรือกระทำการใด ๆ เพื่อจะให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
คำสั่งเพื่อการกำหนดเงื่อนไข
  • ฟังก์ชัน if (เงื่อนไขทางเลือกเดียว)
  • ฟังก์ชัน if…else (เงื่อนไขสองทางเลือก)
  • ฟังก์ชัน if-else-if (เงื่อนไขหลายทางเลือก)
  • ฟังก์ชัน switch (ทางเลือกหลายทาง)
การเขียนโปรแกรมกำหนดเงื่อนไข (Conditional statements) คือการดำเนินการเงื่อนไขที่แตกต่างกันเพื่อทำงานบางอย่างที่เรากำหนดไว้ ซึ่งบ่อยครั้งที่เราเขียนโค๊ด จะต้องมีการทำงานคำสั่งแบบทางเลือก ซึ่งใช้ logic ในการคิดซึ่งผลลัพธ์ของเงื่อนไขจะออกมาเป็น ถูก (True) หรือ ผิด (False)
 
 
การกำหนดเงื่อนไขในภาษา PHP เราสามารถเขียนได้ดังนี้
  • if statement - ใช้สำหรับทำคำสั่งเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง
  • if...else statement - ใช้สำหรับทำคำสั่งใน if เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และ else เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
  • if...elseif...else statement - ใช้สำหรับเลือกเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นจริง elseif และถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะทำคำสั่งใน else
  • switch statement - เป็นคำสั่งที่กำหนดเงื่อนไขด้วยตัว แปร 1 ตัวแปร ซึ่งถ้าตัวแปรไปตรงเงื่อนไขจะทำงานตามที่ต้องการ และหยุดการทำงาน หรือจะทำเงื่อนไขอื่นต่อได้อีก

IF Statement
ใช้สำหรับทำคำสั่งตามเงื่อนไขที่เป็นจริง

รูปแบบ
?
1
if (condition) code to be executed if condition is true;


ตัวอย่าง

?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
<html>
 
    <body>
 
     
 
    <?php
 
    $d=date("D");
 
    if ($d=="Fri") echo "Have a nice weekend!";
 
    ?>
 
     
 
    </body>
 
    </html>


จากตัวอย่าง:จะได้ผลลัพธ์ "Have a nice weekend!" ถ้าเงื่อนไขตัวแปรเป็น Fri

* คำเตือน: คำสั่งนี้จะไม่มี else อยู่ในคำสั่ง โค๊ดจะถูกประมวลผลเฉพาะใน if เท่านั้นถ้าเงื่อนไขเป็นจริง

IF...Else Statement
ใช้สำหรับทำคำสั่งใน if เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และ else เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

รูปแบบ
?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
if (condition)
 
    {
 
      โค๊ดจะถูกประมวลผลถ้าเงื่อนไขเป็นจริง;
 
    }
 
    else
 
    {
 
      โค๊ดจะถูกประมวลผลถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ;
 
    }


ตัวอย่าง

?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
<html>
 
    <body>
 
     
 
    <?php
 
    $d=date("D");
 
    if ($d=="Fri")
 
      {
 
      echo "Have a nice weekend!";
 
      }
 
    else
 
      {
 
      echo "Have a nice day!";
 
      }
 
    ?>
 
     
 
    </body>
 
    </html>

จากตัวอย่าง: ถ้าตัวแปร $d มีค่าเท่ากับ Fri จะทำคำสั่ง IF ซึ่งได้ผลลัพธ์ Have a nice weekend แต่ถ้าไม่จะแสดงผล Have a nice day!

IF...Elseif...Else Statement
ใช้สำหรับเลือกเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นจริง elseif และถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะทำคำสั่งใน else

รูปแบบ

?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
if (ตัวเลือก1)
 
      {
 
      จะแสดงผลเมื่อ ตัวเลือก1 เป็นจริง;
 
      }
 
    elseif (ตัวเลือก2)
 
      {
 
      จะแสดงผลเมื่อตัวเลือก2 เป็นจริง;
 
      }
 
    else
 
      {
 
      จะแสดงผลเมื่อ ตัวเลือก1 และ ตัวเลือก2 เป็นเท็จ;
 
      }

ตัวอย่าง

?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
<html>
 
    <body>
 
     
 
    <?php
 
    $d=date("D");
 
    if ($d=="Fri")
 
      {
 
      echo "Have a nice weekend!";
 
      }
 
    elseif ($d=="Sun")
 
      {
 
      echo "Have a nice Sunday!";
 
      }
 
    else
 
      {
 
      echo "Have a nice day!";
 
      }
 
    ?>
 
     
 
    </body>
 
    </html>

จากตัวอย่าง: ถ้าตัวแปล $d มีค่าเท่ากับ Fri จะแสดงผลในตัวเลือกที่1 ว่า "Have a nice weekend!" แต่ถ้า $d มีค่าเท่ากับ Sun จะแสดงผลว่า "Have a nice Sunday!" และถ้า $d ไม่เท่ากับ Fri และ Sun ให้แสดงผลลัพธ์ "Have a nice day!"

Switch Statement
เป็นคำสั่งที่กำหนดเงื่อนไขด้วยตัวแปร 1 ตัวแปร ซึ่งถ้าตัวแปรไปตรงเงื่อนไขจะทำงานตามที่ต้องการ และหยุดการทำงาน หรือจะทำเงื่อนไขอื่นต่อได้อีก

รูปแบบ

?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
switch (n)
 
    {
 
    case label1:
 
      code to be executed if n=label1;
 
      break;
 
    case label2:
 
      code to be executed if n=label2;
 
      break;
 
    default:
 
      code to be executed if n is different from both label1 and label2;
 
    }

ตัวอย่าง

?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
<html>
 
    <body>
 
     
 
    <?php
 
    $x=1;
 
    switch ($x)
 
    {
 
    case 1:
 
      echo "Number 1";
 
      break;
 
    case 2:
 
      echo "Number 2";
 
      break;
 
    case 3:
 
      echo "Number 3";
 
      break;
 
    default:
 
      echo "No number between 1 and 3";
 
    }
 
    ?>
 
     
 
    </body>
 
    </html>

จากตัวอย่าง: กำหนดตัวแปร $x=1; จากนั้นเอาค่า $x ไปหาผลลัพท์ที่ switch โดยที่ case 1 คือ ถ้าตัวแปร $x มีค่าเท่ากับ 1 ให้แสดงผล (echo) "Number 1" และออกจากการหาเงื่อนไข break; แต่ถ้าไม่มีเงื่อนไขใดๆตรงกัน จะมี default: คอยกำหนดค่าแสดงผลให้ "No number between 1 and 3"

สรุป
ในการเขียนโปรแกรมเราจะได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคำสั่งนี้บ่อยมากๆ เพราะเป็นการกำหนดทางเลือกของโปรแกรมและการไหลของโปรแกรม Condition Statement จึงสำคัญและเป็นส่วนโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ควรจะใช้งานให้ได้คล่องแคล่วครับ
Categories:

1 comment:

  1. I really appreciate your support on this.
    Look forward to hearing from you soon.
    I’m happy to answer your questions, if you have any.


    เล่นบาคาร่า

    เครดิตฟรี

    เล่นบาคาร่า

    ReplyDelete

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!